Digitalization in Logistics โลจิสติกส์ในยุคดิจิทัล ไม่ใช่แค่เรื่องเทคโนโลยี

ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกอุตสาหกรรม การทำ Digital Transformation ในกระบวนการ โลจิสติกส์ (Digitalization in Logistics) กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้หมายถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในกระบวนการเพียงอย่างเดียว แต่ธุรกิจยังต้องมีการปรับตัวและเตรียมพร้อมในด้านอื่น ๆ เพื่อให้กระบวนการ Digital Transformation ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและยกระดับธุรกิจในยุคดิจิทัลให้สามารถแข่งขันและเติบโตได้อย่างยั่งยืนในอนาคต
Digitalization in Logistics คืออะไร?
การทำ Digitalization in Logistics หรือ Digital Transformation ในโลจิสติกส์หมายถึงการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการโลจิสติกส์ทั้งหมด ตั้งแต่การจัดการคลังสินค้า การขนส่ง การส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า รวมไปถึงบริการหลังการขายและกระบวนการอื่น ๆ ตลอดซัพพลายเชน โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการทำให้กระบวนการต่าง ๆ สามารถทำงานได้อย่างอัตโนมัติด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิผลและพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
ตัวอย่าง Digitalization in Logistics เช่น การวิเคราะห์และคาดการณ์ข้อมูลความต้องการเพื่อปรับระดับสินค้าคงคลังได้อย่างแม่นยำ, โมเดลการบำรุงรักษาที่สามารถคาดการณ์ความเสียหายได้ก่อนที่จะเกิดขึ้นจริง, การใช้ Internet of Thing (IoT) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามการจัดส่งแบบเรียลไทม์, ซอฟต์แวร์ Supply Chain Management ที่พนักงานทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลเดียวกันและทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น พร้อมตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว, การใช้โดรนหรือรถบรรทุกไร้คนขับในการจัดส่ง Last-mile เพื่อเพิ่มความรวดเร็วจากการปรับเส้นทางขนส่งด้วย AI เป็นต้น
นอกจากการใช้เทคโนโลยีแล้ว ธุรกิจต้องปรับตัวอะไรอีกบ้าง?
การนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง หากธุรกิจต้องการ Digitalize กระบวนการต่าง ๆ ในโลจิสติกส์ จำเป็นต้องมีการเตรียมพร้อมและปรับตัวในด้านอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนี้:
- การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร: ส่งเสริมการเรียนรู้และยอมรับการเปลี่ยนแปลง ด้วยการสร้างความเข้าใจถึงสาเหตุในการปรับเปลี่ยนและสื่อสารให้เห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นร่วมกัน รวมถึงส่งเสริมให้เกิดความมีส่วนร่วมตลอดการทำ Digital Transformation เพื่อให้พนักงานเกิดความกระตือรือร้นและพร้อมทำงานร่วมกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ
- การพัฒนาทักษะของพนักงาน: จัดการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะด้านดิจิทัลให้กับพนักงาน การสนับสนุนที่เหมาะสมจะช่วยให้พนักงานสามารถใช้เทคโนโลยีโลจิสติกส์ได้อย่างมั่นใจและมีประสิทธิภาพ เพราะ Digital Transformation จะได้ผลก็ต่อเมื่อพนักงานมีความสามารถทางดิจิทัลร่วมด้วย
-
การปรับปรุงกระบวนการทำงาน:
โครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์อย่างระบบและเทคโนโลยีที่ล้าสมัยอาจขาดความยืดหยุ่นในการปรับตัวให้เข้ากับ Digital Solutions ใหม่ ๆ
ธุรกิจควรตรวจสอบและพัฒนากระบวนการทำงานแบบเก่าให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่นำเข้ามาใช้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
บริษัท บุญรอด ซัพพลายเชน จำกัด (BRS) ตระหนักถึงความสำคัญของการทำ Digital Transformation ในโลจิสติกส์ เราได้ลงทุนในเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น ระบบติดตามสินค้าแบบเรียลไทม์ ระบบจัดการคลังสินค้าอัตโนมัติ รวมถึง Internet of Thing (IoT) เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพการขนส่งแบบเรียลไทม์และเทคโนโลยีอื่น ๆ พร้อมมุ่งมั่นในการพัฒนาทักษะของพนักงานและปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของธุรกิจลูกค้าและผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพในยุคที่คุณภาพ ความรวดเร็ว ความแม่นยำ และความปลอดภัย เป็นปัจจัยสำคัญในการเติบโตของธุรกิจ
BRS ให้บริการโลจิสติกส์แก่ธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ รวมถึงบริการขนส่งสินค้า E-commerce และบริการโลจิสติกส์สำหรับสินค้าที่ต้องการความเชี่ยวชาญและมีความปลอดภัยสูงด้วยระบบบริหารคลังสินค้า การขนส่ง และเทคโนโลยีมาตรฐานระดับสากล จึงสามารถจัดส่งสินค้าถึงมือผู้บริโภคได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว
“BRS เราเป็นให้คุณมากกว่าแค่ Supply Chain Solutions Provider”
สนใจติดต่อสินค้า/บริการ ได้ที่ brs-group.com
Tel: 1439
#สปีดได้ไวสเกลได้ไกล #BRS #BoonRawdSupplyChain #TotalSupplyChainSolutions #Empoweryourbusiness #DigitalTransformation #DigitalizationinLogistics