8 เทรนด์โลจิสติกส์ปี 2025 จะมีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง ?

ในปี 2025 ขณะที่ธุรกิจต่าง ๆ ยังคงต้องพัฒนากลยุทธ์อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน มีการนำเทคโนโลยีและแนวคิดใหม่ ๆ มาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความยั่งยืนของธุรกิจ รวมถึงอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และซัพพลายเชนก็กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญด้วยเช่นกัน
8 แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ที่น่าจับตามองในปี 2025
1. IoT (Internet of Thing) ในโลจิสติกส์: การติดตามประสิทธิภาพแบบเรียลไทม์
IoT (Internet of Thing) ยังคงเป็นเครื่องมือหลักในกระบวนการโลจิสติกส์ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถติดตามสินค้าได้แบบเรียลไทม์และจัดการการขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ลดความล่าช้าและเพิ่มความแม่นยำในการจัดส่ง)
เทคโนโลยี IoT ในกระบวนการโลจิสติกส์ เช่น IoT ที่สามารถตรวจสอบสภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิและความชื้น เพื่อรักษาคุณภาพของสินค้าที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษได้ รวมถึง IoT ที่สามารถระบุปัญหาของอุปกรณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ก่อนจะเกิดความเสียหายจริง ซึ่งลดโอกาสการหยุดชะงักในซัพพลายเชนได้ด้วย
- ตัวย่างการใช้ IoT ในโลจิสติกส์ เช่น Royal Mail plans to extend its use of Wiliot tracking tags to individual parcels.
2. AI และ Machine Learning: ซัพพลายเชนอัจฉริยะในยุค Data-Driven Logistics
การนำเทคโนโลยี AI และ Machine Learning เข้ามาช่วยวิเคราะห์ Data ของธุรกิจ สามารถปรับปรุงการดำเนินงานและเพิ่มขีดความสามารถในซัพพลายเชนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น จากเดิมที่ธุรกิจสามารถขนส่งสินค้าภายใน 1 วันได้ 4 ล็อต แต่หลังจากนำ AI และ Machine Learning มาช่วยวิเคราะห์การจัดเรียงสินค้าและข้อมูลเส้นทางการขนส่ง ก็สามารถเพิ่มจำนวนขนส่งสินค้าได้ 6 ล็อตต่อวัน หรือการนำ AI เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เช่น บริการ Contact Center ของ BRS ที่นำเทคโนโลยี AI เข้ามาใช้ ทำให้ระยะเวลาเฉลี่ยในการติดต่อกับลูกค้า (Average Handling Times - AHT) ลดลง สามารถรับภาระงานอื่น ๆ ได้อีกหลายเท่าตัว และความพึงพอใจของลูกค้าต่อบริการก็ดีขึ้นด้วย เป็นต้น
- ตัวอย่างการใช้ AI และ Machine Learning ในโลจิสติกส์ เช่น Walmart Commerce Technologies Launches AI-Powered Logistics Product
3. หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ: การทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
การนำหุ่นยนต์มาใช้ในคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า กลายเป็นมาตรฐานใหม่ที่ช่วยลดข้อผิดพลาด ลดต้นทุน และเพิ่มความรวดเร็วในการจัดการสินค้า เช่น การหยิบ การบรรจุ การจัดเรียง และการขนย้ายสินค้า ด้วยเทคโนโลยีอัตโนมัติ เช่น Collaborative Robots (Cobots) และ Autonomous Mobile Robots (AMRs) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หุ่นยนต์ไม่ได้เข้ามาแทนที่งานของมนุษย์แต่จะทำงานร่วมกับมนุษย์ในการลดงานที่ซ้ำซากเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและช่วยประหยัดเวลาให้กับมนุษย์
- ตัวอย่างการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในโลจิสติกส์ เช่น Locus Robotics picks 10 million units at GEODIS U.S. facility
4. Delivery Drone: ปรับปรุงการขนส่งในระยะสุดท้าย (Last-mile)
โดรนจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติกระบวนการขนส่งมากขึ้น โดยเป็นโซลูชันการจัดส่งที่รวดเร็ว ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถจัดส่งพัสดุขนาดเล็กให้กับผู้รับโดยตรงในพื้นที่เข้าถึงยากหรือมีการจราจรหนาแน่นได้ เป็นการช่วยลดเวลาจัดส่งและเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้มากขึ้น
นอกจากนี้ โดรนขนส่งพัสดุที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ายังช่วยลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ได้ดีกว่าการขนส่งทางถนนปกติด้วย
- ตัวอย่างการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในโลจิสติกส์ เช่น Amazon's drone delivery program takes flight
5. Blockchain: ความโปร่งใสและความปลอดภัยของข้อมูล
แม้ว่าปัจจุบันการนำ Blockchain เข้ามาใช้ในกระบวนการโลจิสติกส์จะมีความท้าทายเรื่องการปรับให้เข้ากับโครงสร้างพื้นฐานเดิม การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และความแตกต่างในเรื่องข้อกฎหมายของแต่ละพื้นที่ แต่ระบบการทำงานแบบ Decentralized ของ Blockchain ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการเรื่องความปลอดภัยจากการปลอมแปลงเอกสารและความเป็นระบบอัตโนมัติจะช่วยให้กระบวนการโลจิสติกส์ทำได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น รวมถึงเพิ่มความไว้วางใจของผู้มีส่วนร่วมในซัพพลายเชนเพราะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้แบบเรียลไทม์และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างครบถ้วน ทำให้อนาคตเทคโนโลยี Blockchain จะเข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้นในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์
- ตัวอย่างการใช้ Blockchain ในโลจิสติกส์ เช่น Alibaba Cloud's Blockchain Services: Enabling Transparent and Secure Transactions
6. รถขนส่งไร้คนขับ: ยุคของการขับเคลื่อนอัตโนมัติ
รถขนส่งไร้คนขับเป็นเทรนด์ใหม่ของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ที่มีเป้าหมายเพื่อช่วยลดต้นทุนและลดความเสี่ยงจากการขับขี่ของมนุษย์ เช่น ความเหนื่อยล้าและความไม่มีสมาธิของคนขับ ซึ่งช่วยให้มั่นใจว่าสินค้าจะถูกขนส่งอย่างปลอดภัยและเชื่อถือได้
นอกจากช่วยเพิ่มความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการขนส่งแล้ว หากใช้เทคนิคการขับเป็นขบวนในเส้นทางระยะไกล ยังช่วยลดแรงต้านลมและการใช้เชื้อเพลิง รวมถึงสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี AI เพื่อวิเคราะห์เส้นทางการขนส่งและเลือกเส้นทางที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งช่วยประหยัดเชื้อเพลิงและลดการปล่อยมลพิษได้ด้วย
- ตัวอย่างการใช้รถขนส่งไร้คนขับในโลจิสติกส์ เช่น MAN: First autonomous truck on the motorway
7. โลจิสติกส์สีเขียว: ความยั่งยืนเป็นหัวใจสำคัญ
กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้นได้สร้างความท้าทายในการตรวจสอบการดำเนินงานที่ปล่อยคาร์บอน เช่น การมี Packing Waste ที่มากเกินไป หรือการใช้เชื้อเพลิงไม่หมุนเวียนในการขนส่ง จึงมีการหยิบนวัตกรรมมาใช้ในกระบวนการมากขึ้น เช่นการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถย่อยสลายหรือรีไซเคิลได้ นอกจากนี้ยังมีนวัตกรรมอื่น ๆ เช่น ยานยนต์ไฟฟ้าและไฮบริด ที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ซึ่งไม่เพียงแต่กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ความคาดหวังของผู้บริโภคต่อแบรนด์เรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมก็มีบทบาทสำคัญในกระบวนการซัพพลายเชนเช่นเดียวกัน
- ตัวอย่างการทำโลจิสติกส์สีเขียว เช่น “อายิโนะโมะโต๊ะ” ชู Green Logistics ขับเคลื่อนองค์กรสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ ดีเดย์ใช้รถ EV ขนส่งสินค้า ตั้งเป้าลดคาร์บอน 1,600 ตันต่อปี
8. โลจิสติกส์แบบยืดหยุ่น: ความสามารถในการปรับขนาดโลจิสติกส์
ในช่วงเทศกาลหรือช่วงที่มี Demand มาก ธุรกิจสามารถลงทุนเพิ่มเพื่อขยายกำลังการผลิต การจัดเก็บ และขนส่งสินค้าได้อย่างง่ายดาย กลับกัน ในช่วงที่มี Demand น้อยลง ธุรกิจมีความจำเป็นต้องลดขนาดกระบวนการลงเพื่อหลีกเลี่ยงต้นทุนที่ไม่จำเป็น การมีระบบโลจิสติกส์ที่ยืดหยุ่นด้วยการสร้างความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์หลายราย จึงเป็นทางออกที่ธุรกิจจะสามารถปรับขนาดการดำเนินงานให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการจริงและหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากความล้าสมัยของเทคโนโลยีได้
ตัวอย่างการทำโลจิสติกส์แบบยืดหยุ่น (Elastic Logistics) เช่น การเช่าใช้พื้นที่คลังสินค้าเพื่อจัดเก็บโดยมีค่าใช้จ่ายตามพื้นที่ที่ใช้จริง หรือการเช่าใช้บริการรถขนส่งตามปริมาณสินค้าที่ต้องการขนส่งจริงในช่วงเวลานั้น ๆ เป็นต้น
- ตัวอย่างการทำโลจิสติกส์แบบยืดหยุ่น Thailand Post x กรมการค้าภายใน ดรอปพัสดุไปรษณีย์ของร้านค้า Shopee ที่ร้านธงฟ้าใกล้บ้าน
การปรับตัวตามเทรนด์เหล่านี้จะช่วยให้ธุรกิจสามารถตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดโลกได้ นอกจากนี้เพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการใหม่ ๆ ของโลจิสติกส์จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับธุรกิจได้จริง ๆ การพัฒนาบุคลากรไปควบคู่กับการลงทุนในเทคโนโลยีจึงมีความสำคัญไม่แพ้กัน
“BRS เราเป็นให้คุณมากกว่าแค่ Supply Chain Solutions Provider”
สนใจติดต่อสินค้า/บริการ ได้ที่ brs-group.com
Tel: 1439
#สปีดได้ไวสเกลได้ไกล #BRS #BoonRawdSupplyChain #TotalSupplyChainSolutions #Empoweryourbusiness #LogisticsTrends2025 #เทรนด์โลจิสติกส์ #Trends2025

Source StartUs Insights, S J Logistics (India) Limited, Forbes, Invensis